ระบบวางแผนบริหารทรัพยากรธุรกิจ : ERP

        ระบบวางแผนบริหารทรัพยากรธุรกิจ (Enterprise Resource Planning) ที่เรียกว่า CAP (Chess Application Performance) หมายถึง การบริหารกลยุทธ์วิธีการหมากรุกที่มีแบบแผนตารางการเดิน และการจัดสรรทรัพยากร โดยนำมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ และใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศขับเคลื่อนการดำเนินงานของธุรกิจในรูปแบบจำลองสถานการณ์ (Scenario) ภายใต้มาตรฐานการพัฒนาระบบ CIMM และ IEEE 

CAP-ERP ซอฟแวร์

• พัฒนาระบบให้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้นบนมือถือ
• ติดตามสถานะการทำงานได้แบบเรียวไทม์
• ไม่จำกัดจำนวน ID ผู้ใช้งาน
• รองรับธุรกิจได้มากกว่า 1 ธุรกิจ
• ปิดงบรวมและปิดงบแยกธุรกิจได้
• สามารถออกรายงานได้หลายรูปแบบ เช่น Excel PDF
• ฯลฯ 

ฟีเจอร์ CAP-ERP

• ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเป็นระบบโปรแกรมสำหรับใช้ในการวางแผนบริหารทรัพยากรธุรกิจที่มีมาตรฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ IEEE Standard Certification 
• ผลิตภัณฑ์ที่มีการวิเคราะห์และออกแบบรองรับกับการใช้งานจริงในองค์การและธุรกิจ
• ซอฟต์แวร์ที่มีรูปแบบ SMART Process เป็นการใช้งานแบบ Windows Application เชื่อมโยงการทำงาน Web Application เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานกับธุรกิจ
• บริการแบบครบวงจรด้าน Business Consultant, Software Application, Hardware and Network Service
• รองรับมาตรฐานคุณภาพด้าน ISO GAP GMP HACCP IFRS และมาตรฐานอื่น ๆ
• การรับรองมาตรฐานการพัฒนาของผู้ตรวจสอบบัญชีและผู้ตรวจสอบไอที
• สามารถติดตั้งใช้งานได้กับธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต และบริการ

  • ระบบสามารถรองรับได้มากกว่า 1 บริษัท
  • ระบบสามารถรองรับได้มากกว่า 1 ธุรกิจ
  • ระบบสามารถรองรับได้มากกว่า 1 สาขา
  • ระบบสามารถรองรับผู้ใช้งานพร้อมกันได้ไม่จำกัด
  • ระบบสามารถปิดงบรวมและปิดงบแยกธุรกิจ
  • ระบบสามารถรองรับการเชื่อมต่อระบบอื่นๆ
  • ระบบสามารถรองรับการทำงานแบบเว็บโมบาย
  • ผู้ใช้โปรแกรมสามารถตรวจสอบการทำงานย้อนหลัง
  • ผู้ใช้โปรแกรมสามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการจัดทำรายงาน
  • ผู้ใช้โปรแกรมสามารถเข้าถึงโมดูลได้มากกว่า 1 โมดูล
  • ระบบสามารถออกรายงานได้หลายรูปแบบ
    เช่น Excel PDF Web Graph และอื่นๆ
  • ระบบสามารถรองรับการนำข้อมูลเข้า
    และการนำข้อมูลออกตามแบบที่กำหนด

          การจัดการองค์ประกอบของระบบมีความสอดคล้องของกิจกรรมการดำเนินงาน และการกำกับวิธีการทำงานให้มีความถูกต้องและแม่นยำในการประมวลผลข้อมูล นำไปสู่การใช้งานได้เหมาะสมกับสถานการณ์ และการใช้ข้อมูลตัดสินใจที่สอดคล้องกับเวลา เวลา  ประกอบด้วย

  1. ระบบบริการกลยุทธ์ธุรกิจ (Strategic Management System)
  2. ระบบบริหารการตลาด (Marketing Management System)
  3. ระบบบริหารการผลิต (Production Management System)
  4. ระบบบริหารโลจิสติกส์ (Logistics Management System)
  5. ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System)
  6. ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Management System)
  7. ระบบบริหารการเงิน (Financial Management System)
  8. ระบบบริหารบัญชี (Accounting Management System)
  9. ระบบบริหารสารสนเทศ (Information Management System)

Strategic Management System

ระบบบริหารกลยุทธ์ธุรกิจ (Strategic Management System) การจัดการพยากรณ์ความต้องการของธุรกิจ (Forecast Demand) ให้สอดคล้องกับการทำงบประมาณรายรับและรายจ่ายในการดำเนินงานเชื่อมโยงกับการจัดทำบัญชีมาตรฐานการดำเนินธุรกิจ โดยใช้การต้นทุนมาตรฐานกำกับการดำเนินโครงการ และการจัดทำงบประมาณ ในประประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีงบประมาณได้อย่างเหมาะสม

การจัดการองค์ประกอบการบริหารกลยุทธ์ธุรกิจ รองรับกิจกรรมดำเนินงานทางด้านจัดทำโครงการ การลงทุน และการจัดทำงบประมาณ โดยกำหนดต้นทุนมาตรฐานในการประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ทำให้สามารถประมาณการงบการเงินประจำปี และการจัดสรรกำไรการดำเนินงานประจำปีได้อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย

  1. ระบบวางแผนกลยุทธ์ (Strategy Planning)
  2. ระบบแผนงบประมาณดำเนินงาน (Budget Planning System)
  3. ระบบแผนต้นทุนมาตรฐาน (Costing Planning System)
  4. ระบบแผนการจัดการโครงการ (Project Planning System)
  5. ระบบการจัดการผู้ถือหุ้น (Stock Holding System)

1. การจัดการแผนพยากรณ์ความต้องการ
2. การจัดการแผนงบประมาณดำเนินงาน
3. การจัดการงบลงทุนดำเนินงาน
4. การจัดการโครงการดำเนินงาน
5. การจัดการผู้ถือหุ้นการดำเนินงาน
6. การจัดการต้นทุนการดำเนินงาน
7. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพดำเนินงาน
8. การประเมินตัวชี้วัดดำเนินงาน
9. การจัดทำบัญชีโครงการ และงบประมาณ

Marketing Management System

ระบบบริหารการตลาด (Marketing Management System) การจัดการกิจกรรมการตลาดเกี่ยวกับการพยากรณ์ยอดขาย แผนการตลาด การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย และการส่งเสริมการตลาด เป็นการดำเนินกิจกรรมกลยุทธ์การกระตุ้นยอดขาย และสนับสนุนการขายให้เป็นไปตามแผนการตลาดทั้งรายปี รายไตรมาส และรายเดือน โดยกำหนดเป้าหมายตามพื้นที่การตลาดและเขตการขาย

การจัดการองค์ประกอบระบบบริหารการตลาด รองรับการดำเนินงานการตลาด และกำกับกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนการตลาด ทั้งทางด้านการจัดจำหน่าย การให้บริการ และการส่งเสริมการขาย โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการผลักดันกิจกรรม และควบคุมค่าใช้จ่ายทางการตลาดให้สอดคล้องกับงบประมาณการตลาด ประกอบด้วย

  1. ระบบการจัดการแผนการตลาด (Marketing Planning)
  2. ระบบการจัดการขาย (Sale Management)
  3. ระบบการจัดการงานบริการ (Service Management)
  4. ระบบการจัดการลูกค้า (Customer Management)

1. การจัดการแผนกิจกรรมตลาด
2. การวางแผนประมาณการยอดขาย
3. การจัดทำใบสั่งขายและบริการ
4. การสำรวจตลาดและบริการ
5. การจัดโปรโมชั่นตลาด
6. การวิเคราะห์การขายและบริการ
7. การประเมินตัวชี้วัดการตลาด
8. การจัดทำกิจกรรมส่งเสริมลูกค้า
9. การจัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายกิจกรรมตลาด

Production Management System

ระบบบริหารการผลิต (Production Management System) การจัดการกิจกรรมบริหารการผลิตเกี่ยวกับการวางแผนการผลิต การสั่งผลิต การกำกับกรรมวิธีการผลิต และการควบคุมการผลิต การบำรุงรักษาการผลิต และการจัดทำบัญชีการผลิต โดยกำหนดกลยุทธ์การกำกับแผนงานเชิงกระบวนการผลิต และการทวนสอบวิธีการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานและการรับรองคุณภาพการผลิตทั้งมาตรฐานอุตสาหกรรมและมาตรฐาน ISO

การจัดการองค์ประกอบระบบบริหารการผลิต รองรับการดำเนินงานการผลิต และกิจกรรมการจัดการผลิต ทั้งด้านการวางแผนกำลังการผลิต (APP) การจัดการพื้นที่และเครื่องจักรการผลิต (SFC) การวางแผนจัดหาวัตถุดิบการผลิต (MRP) และการจัดการสั่งผลิต (MPS) โดยกำหนดตารางการดำเนินงานแบบ 3-3-3 (M-W-D) เป็นการกำกับแผนความต้องการสั่งผลิต และการบำรุงรักษาการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการในการจัดจำหน่าย ประกอบด้วย
1. ระบบการจัดการผลิต (Production Management)
2. ระบบการจัดการวัตถุดิบการผลิต (Material Plan)
3. ระบบการจัดการกรรมวิธีการผลิต (Production Shopfloor)
4. ระบบการจัดการบำรุงรักษาการผลิต (Maintenance Management)

1. การจัดการแผนกำลังการผลิต
2. การจัดการแผนบำรุงรักษากาผลิต
3. การจัดการแผนจัดหาวัตถุดิบการผลิต
4. การจัดการสั่งผลิตและใบเบิกวัตถุดิบ
5. การจัดการกรรมวิธีการผลิต
6. การจัดการควบคุมการผลิต
7. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต
8. การประเมินตัวชี้วัดการผลิต
9. การจัดทำบัญชีการผลิต และบำรุงรักษา

Logistics Management System

ระบบบริหารโลจิสติกส์ (Logistics Management System) การจัดการกิจกรรมบริหารการผลิตเกี่ยวกับการวางแผนโลจิสติกส์ การจัดการสินค้า การจัดการสั่งซื้อสินค้า การจัดการคลังสินค้า การจัดส่งและขนส่งสินค้า โดยกำหนดกลยุทธ์การกำกับกระบวนการดำเนินงาน และการทวนสอบสต็อกสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน และการรับรองคุณภาพ ISO

การจัดการองค์ประกอบระบบบริหารโลจิสติกส์ รองรับการดำเนินกิจกรรมการจัดการสินค้า สต็อกสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้า และการจีดส่งสินค้า ทั้งด้านการวางแผนความต้องการสต็อกสินค้า การจัดการพื้นที่สต็อกสินค้า และการจัดการขนส่งสินค้า โดยกำหนดตารางการดำเนินงานแบบ Rooting-Routing เป็นการกำกับวิธีการทำงาน และควบคุมปริมาณสต็อกสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการในการจัดจำหน่าย ประกอบด้วย
1. ระบบการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
2. ระบบการจัดการควบคุมสินค้า (Inventory Management)
3. ระบบการจัดการจัดซื้อสินค้า (Purchase Management)
4. ระบบการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)
5. ระบบการจัดการจัดส่งขนส่งสินค้า (Transportation Management)

1. การจัดการแผนบริหารโลจิสติกส์
2. การจัดการสินค้า และสินค้าคงเหลือ
3. การจัดหาวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์
4. การจัดทำใบสั่งซื้อและใบแจ้งหนี้สั่งซื้อ
5. การจัดการคลังสินค้าและสต็อกสินค้า
6. การจัดการจัดส่งสินค้าและขนส่งสินค้า
7. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพโลจิสติกส์
8. การประเมินตัวชี้วัดโลจิสติกส์
9. การจัดทำบัญชีการจัดการโลจิสติกส์

Quality Management System

ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) การจัดการกิจกรรมบริหารคุณภาพการผลิตเกี่ยวกับการวางแผนข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพ การกำกับวิธีการทำงานมาตรฐาน และการควบคุมคุณภาพการผลิต โดยกำหนดกลยุทธ์การกำกับแผนงานเชิงกระบวนการคุณภาพ และการทวนสอบวิธีการคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน และการรับรองคุณภาพทั้งมาตรฐาน ISO และมาตรฐานความปลอดภัย

การจัดการองค์ประกอบระบบบริหารคุณภาพ รองรับการดำเนินงานการผลิต และกิจกรรมการจัดการสินค้า ทั้งด้านการวางแผนกำกับมาตรฐานการปฏิบัติงาน และการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยในการดำเนินงาน โดยกำหนดตารางการกำกับงานแบบ QMC-QMA เป็นการกำกับแผนวิธีการปฏิบัติ และการกำกับขั้นตอนการทำงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดและสอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพสากล ประกอบด้วย
1. ระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management)
2. ระบบการจัดการควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
3. ระบบการจัดการรับรองคุณภาพ (Quality Assurance)
4. ระบบการจัดการความปลอดภัย (Quality Safety)

1. การจัดการบริหารคุณภาพการดำเนินงาน
2. การจัดการข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพ 
3. การจัดการกำกับข้อกำหนดการทำงาน
4. การจัดการควบคุมมาตรฐานคุณภาพ
5. การจัดการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
6. การจัดการรับรองมาตรฐานคุณภาพ
7. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพบริหารคุณภาพ
8. การประเมินตัวชี้วัดการบริหารคุณภาพ
9. การจัดทำบัญชีการบริหารคุณภาพ

Human Management System

ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Management System) การจัดการกิจกรรมบริหารบุคลากรเกี่ยวกับการวางแผนอัตรากำลัง การสรรหาคัดเลือก การมอบหมายงาน การกำกับวิธีการปฏิบัติงาน การควบคุมการทำงาน การประเมินผลการทำงาน การให้ค่าตอบแทนการทำงาน การให้สวัสดิการและสร้างความสัมพันธ์ในการทำงาน โดยกำหนดกลยุทธ์การกำกับแผนหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงาน และการทวนสอบวิธีการมทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานและการรับรองคุณภาพทั้งมาตรฐานอุตสาหกรรมและมาตรฐาน ISO

การจัดการองค์ประกอบระบบบริหารบุคลากร รองรับการดำเนินงานการตลาด การผลิต และการจัดการโลจิสติกส์ ทั้งด้านการวางแผนกำลังบุคลากรในการทำงานให้มีประสิทธิภาพตามแผนการผลิตและจัดจำหน่าย โดยกำหนดตารางการดำเนินงานแบบ M-2-M เป็นการกำกับแผนความต้องการใช้บุคลากรในการกำกับหน้าที่ และความรับผิดชอบที่มีร่วมกันในกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพที่กำหนด ประกอบด้วย
1. ระบบการจัดการบุคลากร (Human Management)
2. ระบบการจัดการสรรหาคัดเลือก (Recruitment Plan)
3. ระบบการจัดการปฏิบัติการ (Operation Shopfloor)
4. ระบบการจัดการค่าตอบแทน (Compensation Management)
5. ระบบการจัดการแรงงานสัมพันธ์ (Labor Management) 

1. การจัดการแผนอัตรากำลังบุคคล
2. การจัดการสรรหาคัดเลือกบุคลากร
3. การจัดการปฏิบัติงาน
4. การจัดการพัฒนาฝึกอบรม
5. การจัดการค่าตอบแทนและผลประโยชน์
6. การจัดการสวัดิการแรงงานสัมพันธ์
7. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพบริหารบุคลากร
8. การประเมินตัวชี้วัดการบริหารบุคลากร
9. การจัดทำบัญชีการบริหารบุคลากร

Financial Management System

ระบบบริหารการเงิน (Financial Management System) การจัดการกิจกรรมบริหารการเงินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดการเงินสด การจัดการเงินลงทุน การจัดการสินเชื่อ และเงินกู้ยืม รวมทั้งการติดตามเรียกเก็บชำระหนี้ โดยกำหนดกลยุทธ์การกำกับแผนการเงินในการรับจ่ายประจำวัน และการทวนสอบกระแสดเงินสดให้เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมภายใน 

การจัดการองค์ประกอบระบบบริหารการเงิน รองรับการดำเนินงานเงินสดและกระแสเงินสด ทั้งด้านการวางแผนสภาพคล่องทางการเงิน การจัดการกำกับสินเชื่อและเงินกู้ เป็นการกำกับแผนจัดสรรกระแสเงินในการรับจ่าย และควบคุมต้นทุนทางการเงินให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของธุรกิจ ประกอบด้วย
1. ระบบการจัดการเงิน (Financial Management)
2. ระบบการจัดการสินเชื่อ (Credit Management)
3. ระบบการจัดการเงินฝาก (Deposit Management)
4. ระบบการจัดการเงินกู้ยืม (Loan Management)
5. ระบบการจัดการติดตามหนี้เรียกเก็บ (Deductive Management) 

1. การจัดการแผนบริหารการเงิน
2. การจัดการเงินสดและกระแสเงินสด
3. การจัดการเงินลงทุน
4. การจัดการสินเชื่อ
5. การจัดการเรียกเก็บและติดตามสินเชื่อ
6. การจัดการเงินกู้ยืมและชำระเงินกู้ยืม
7. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพบริหารการเงิน
8. การประเมินตัวชี้วัดการบริหารการเงิน
9. การจัดทำบัญชีการบริหารการเงิน 

Accounting Management System

ระบบบริหารบัญชี (Accounting Management System) การจัดการระบบในรูปแบบบัญชีบริหารที่มีการเชื่อมโยงกิจกรรมการดำเนินงานของธุรกิจ และนำมาผูกติดการลงบัญชีมาตรฐาน เป็นการจัดการบัญชีแบบอัตโนมัติโดยใช้นโยบายการบัญชีในการกำกับวิธีการลงบัญชี และการควบคุมกระทบยอดรายการลงบัญชีสำหรับการปิดบัญชีรายวัน และการปิดบัญชีรายเดือน

การจัดการองค์ประกอบระบบบริหารบัญชี 

1. การจัดการแผนบริหารบัญชี
2. การจัดการบัญชีรายวันทั่วไป
3. การจัดการบัญชีลูกหนี้
4. การจัดการบัญชีเจ้าหนี้
5. การจัดการบัญชีทรัพย์สิน
6. การจัดการตรวจสอบบัญชี
7. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพบริหารบัญชี
8. การประเมินตัวชี้วัดการบริหารบัญชี
9. การจัดทำปิดงบการบริหารบัญชี

1. การจัดการแผนบริหารการเงิน
2. การจัดการเงินสดและกระแสเงินสด
3. การจัดการเงินลงทุน
4. การจัดการสินเชื่อ
5. การจัดการเรียกเก็บและติดตามสินเชื่อ
6. การจัดการเงินกู้ยืมและชำระเงินกู้ยืม
7. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพบริหารการเงิน
8. การประเมินตัวชี้วัดการบริหารการเงิน
9. การจัดทำบัญชีการบริหารการเงิน 

Information Management System

ระบบบริหารสารสนเทศ (Information Management System) การจัดการข้อมูลมาตรฐานที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลจากดำเนินงานของธุรกิจในรูปแบบโครงส้างการจัดการสารสนเทศ นำไปสู่การใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ผลการทำงาน ประเมินผลงาน และเกณฑ์การตัดสินใจในการดำเนินงาน รองรับการให้บริการข้อมูลเชิงสารสนเทศ การสำรองข้อมูล และการจัดการความปลอดภัยในการใช้ข้อมูลตามมาตรฐาน ISO 27001

การจัดการองค์ประกอบระบบบริหารสารสนเทศ รองรับการดำเนินงานประมวลผลข้อมูลและสารสนเทศ ทั้งด้านการวางแผนการใช้งานระบบ การจัดการข้อมูล การจัดการสารสนเทศ และการจัดการบำรุงรักษาการทำงานของระบบ โดยกำหนดตารางการดำเนินงานในการประมวลผลแบบรายวัน รายเดือน และประมวผลปิดงานสิ้นงวด เป็นการกำกับแผนการประมวลผลข้อมูลในการจัดทำสารสนเทศ และการนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารให้สอดคล้องกับความต้องการประสิทธิภาพธุรกิจ ประกอบด้วย
1. ระบบการจัดการสารสนเทศ (Information Management)
2. ระบบการจัดการให้บริการสารสนเทศ (Information Service)
3. ระบบการจัดการบำรุงรักษาสารสนเทศ (Information Administration)

1. การจัดการแผนบริหารสารสนเทศ
2. การจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศ
3. การจัดการสิทธิ์เข้าใช้งานระบบสารสนเทศ
4. การจัดการบริการข้อมูลสารสนเทศ
5. การจัดการสำรองข้อมูลสารสนเทศ 
6. การจัดการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
7. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ
8. การประเมินตัวชี้วัดบริหารสารสนเทศ
9. การจัดทำบัญชีสารสนเทศ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โทร 096-254-5699
Email : trdcap@gmail.com
43/4 หมู่ 16 ตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150